สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขับเคลื่อนโครงการเครือข่ายชุมชนร่วมใจ ป้องกันภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพ จัดกิจกรรมมอบรางวัล ผลการดําเนินงานสร้างสังคมรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดดเด่นดีเยี่ยม ระดับประเทศ (Best of the Best) วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน 2567 โรงแรมแกรนด์ริชมอนด์สไตลิช คอนเวนชั่น จังหวัดนนทบุรี - Siam Daily

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Friday, June 14, 2024

สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขับเคลื่อนโครงการเครือข่ายชุมชนร่วมใจ ป้องกันภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพ จัดกิจกรรมมอบรางวัล ผลการดําเนินงานสร้างสังคมรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดดเด่นดีเยี่ยม ระดับประเทศ (Best of the Best) วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน 2567 โรงแรมแกรนด์ริชมอนด์สไตลิช คอนเวนชั่น จังหวัดนนทบุรี

 

สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จัดงานมอบรางวัลทรงคุณค่า “ผลงานเครือข่ายสร้างสังคมรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพโดดเด่นดีเยี่ยม ระดับประเทศ (Best of the Best)” ในการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพจากเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพทั่วประเทศ ประจําปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ด้วยการขับเคลื่อนโดยเครือข่ายชุมชนร่วมใจ ป้องกันภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพ หรือ เครือข่าย บวร.ร. และ โรงเรียน อย. น้อย ที่กระจายทุกพื้นที่ของประเทศไทยอย่างยั่งยืน





วันที่ 14 มิถุนายน 2567 นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลทรงคุณค่าแก่ผู้ที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเดินหน้าสร้างสังคมรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างยั่งยืน ซึ่งปัจจุบัน โลกกําลังรับมือกับปัญหาที่หลากหลายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้โดยเฉพาะปัญหาด้านสุขภาพ อย่างโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ โรค NCDs ถือเป็นภัยคุกคามต่อชีวิตคนทั้งโลก ซึ่งในประเทศไทย โรค NCDs เช่น โรคหัวใจ-หลอดเลือด มะเร็ง เบาหวาน เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งที่ทําให้คนไทยเสียชีวิตและคนไทยมากกว่า 14 ล้านคนกําลังเผชิญกับโรค NCDs มากกว่า 4.8 ล้านคนเป็นโรคเบาหวาน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเป็น 5.3 ล้านคนในปี 2583



อย. ซึ่งมีบทบาทสําคัญในการคุ้มครองผู้บริโภค และส่งเสริมความรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ จึงเร่งสร้างกลไก สร้างชุมชน และสร้างคน ให้มีศักยภาพในการเลือกซื้อ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างสมประโยชน์ด้วยการขับเคลื่อนให้เกิดเครือข่ายชุมชนร่วมใจ ป้องกันภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพ หรือ เครือข่าย บวร.ร. สะสมทั่วประเทศ กว่า 255 ชุมชน และ โรงเรียน อย. น้อย ซึ่งกระจายอยู่ทุกพื้นที่ของประเทศไทย กว่า 18,000 แห่ง ครอบคลุมทุกกลุ่มวัย เกิดเป็นเครือข่ายชุมชนผู้บริโภคที่แข็งแกร่ง ที่สามารถจัดการปัญหาด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพได้ด้วยการมีส่วนร่วมรู้สึกเป็นเจ้าของปัญหา และวางแผนจัดการอย่างยั่งยืน มีการดําเนินงานสร้างความรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพที่โดดเด่น (Best Practice) ทั้งในระดับจังหวัดและระดับเขตสุขภาพ เช่น



ชุมชนหานโพธิ์ จังหวัดพัทลุง ซึ่งซึ่งปัญหาที่พบในชุมชนมีทั้งการใช้ยาไม่ถูกต้อง เช่น ยาหมดอายุ เสื่อมสภาพสเตียรอยด์ รวมถึงการบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม เป็นต้น โดยในชุมชนมีการร่วมมือกันแก้ไขและป้องกันปัญหาในรูปแบบเครือข่าย บ้าน วัด โรงเรียน โรงพยาบาล เน้นกระบวนการ ร่วมรับรู้ ร่วมคิด ร่วมทํา ร่วมติดตามผลและใช้แนวคิด การพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง โดยวงล้อมเดิมมิ่ง/PDCA /วงล้อบริหารงานคุณภาพมาขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี2564-ปัจจุบัน โดยนําต้นทุนในพื้นที่มาออกแบบกระบวนการขับเคลื่อนโดย นวัตกรรม 3 ต. ในการแก้ปัญหา (ติดอาวุธทางปัญญา ติดตาม และ ติดตั้งตู้ยาสามัญประจําบ้าน /ตาไว/ไต ) ปัจจุปันการดําเนินงานเกิดความสําเร็จทั้งในเชิงปริมาณ เช่น ปัญหาผู้ป่วยเรื้อรังใช้ยาไม่ถูกต้องลดลงจาก 40.85% เป็น 30.9 % และ 23.8% ตามลําดับ การจําหน่ายยาที่เหมาะสมในร้านชําเพิ่มขึ้นเป็น 100% ปัญหาด้านการกินอาหารที่เหมาะสมกับโรค เพิ่มขึ้นจาก 15.63% เป็น 26.67% และ 32% ตามลําดับและ กลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงโรคไตของชุมชนหานโพธิ์ สามารถชะลอไตเสื่อมได้ 55% ผู้ป่วยความดันสามารถควบคุมความได้เพิ่มขึ้นเป็น 61.88% ผู้ป่วยรายใหม่ลดลง 27.27% ด้านผลลัพธ์เชิงคุณภาพ เกิดข้อตกลงของชุมชน วัด โรงเรียน ผู้ป่วยโรคเรื้องรัง ร่วมกันลดเค็ม (อาหารลดโซเดียม) เกิดทีมทํางานเครือข่าย บวร.ร ที่มีเครือข่ายเพิ่มขึ้น โดยนําต้นทุนของแต่ละเครือข่ายมาร่วมแก้ปัญหาโดยใช้ นวัตกรรม 3 ต ในการขับเคลื่อนการแก้ปัญหา



ด้านสมาชิกโรงเรียน อย. น้อย อย่างโรงเรียนประสานวิทยามูลนิธิ จังหวัดปัตตานีนับเป็นอีกหนึ่งโรงเรียนที่มีผลงานด้านนวัตกรรมที่โดดเด่น โดยมีการออกแบบผลงานนวัตกรรมผ่านแอปพลิเคชัน Prasan Check , มีการจัดทําสื่อให้เป็นภาษาท้องถิ่น เช่น ภาษามลายู/อาหรับ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงข้อมูล (กลุ่มเปราะบาง) ของนักเรียน ประชาชนในชุมชนและชายแดนมากขึ้น, ให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพแก่ชุมชนอย่างทั่วถึง และไม่แบ่งแยกทั้งชุมชนไทยพุทธ และมุสลิม สอดคล้องกับการเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม, ขยายโอกาสสู่กลุ่มนักเรียนกลุ่มการศึกษาพิเศษ เช่น โรงเรียนปอเนาะ (โรงเรียนสอนศาสนา) เนื่องจากนักเรียนกลุ่มนี้ขาดโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลทางสุขภาพที่ถูกต้อง และการมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายในชุมชน เช่น โรงพยาบาล สสอ. อบต. สถานีตํารวจ ผู้นําชุมชน อสม. และผู้ประกอบการในชุมชน เพื่อส่งเสริมการมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับสุขภาพ และผลิตภัณฑ์สุขภาพ



สําหรับรางวัลทรงคุณค่าที่มอบแก่ผู้ที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเดินหน้าสร้างสังคมรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างยั่งยืนในวันนี้ จําแนกเป็น รางวัลหน่วยงานปราบปรามและดําเนินคดีผลิตภัณฑ์สุขภาพดีเด่น จํานวน 2 รางวัล รางวัลผลงานสื่อสร้างสรรค์ นักสื่อสารด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ จํานวน 18 รางวัล รางวัลการขับเคลื่อนงานสร้างความรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ซึ่งมอบให้แก่ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด ชุมชน และโรงเรียน อย. น้อย รวมจํานวน 105 รางวัล และรางวัลผลงานโดดเด่นดีเยี่ยม (Best of the Best) ระดับประเทศ จํานวน 9 รางวัล ซึ่งคัดเลือกจากผู้ผ่านการคัดเลือกเป็นตัวแทนผลงานโดดเด่น (Best Practice) ระดับเขตสุขภาพ ของเครือข่าย บวร.ร จํานวน 16 ผลงาน และตัวแทนผลงานโดดเด่น (Best Practice) ระดับเขตสุขภาพ ของโรงเรียน อย. น้อย จากทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการมีส่วนร่วมกับชุมชน ด้านนวัตกรรม ด้านสื่อสร้างสรรค์และ ด้านคลื่นลูกใหม่ ผลงานโดดเด่น จํานวน 42 ผลงาน โดยผู้ได้รับรางวัล ผลงานโดดเด่นดีเยี่ยม (Best of the Best) ระดับประเทศ ในปีนี้ ได้แก่

1) ชุมชนรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ บวร.ร. ที่มีผลงานโดดเด่นดีเยี่ยม ระดับประเทศ ได้แก่ ชุมชนหานโพธิ์ จังหวัดพัทลุง

2) สุดยอด โรงเรียน อย.น้อย ที่มีผลงานโดดเด่นดีเยี่ยม ด้านคลื่นลูกใหม่ ผลงานโดดเด่น ประเภทโรงเรียนขนาดใหญ่ระดับประเทศ ได้แก่ โรงเรียนปรางค์กู่ จังหวัดศรีษะเกษ

3) สุดยอด โรงเรียน อย.น้อย ที่มีผลงานโดดเด่นดีเยี่ยม ด้านคลื่นลูกใหม่ ผลงานโดดเด่น ประเภทโรงเรียนขนาดเล็ก ระดับประเทศ ได้แก่ โรงเรียนบ้านยางบอน (อําพานุสรณ์) จังหวัดศรีษะเกษ

4) สุดยอด โรงเรียน อย.น้อย ที่มีผลงานโดดเด่นดีเยี่ยม ด้านการมีส่วนร่วมกับชุมชน ประเภทโรงเรียนขนาดใหญ่ระดับประเทศ ได้แก่ โรงรียนคลองใหญ่วิทยาคม จังหวัดตราด

5) สุดยอดโรงเรียน อย.น้อย ที่มีผลงานโดดเด่นดีเยี่ยม ด้านการมีส่วนร่วมกับชุมชน ประเภทโรงเรียนขนาดเล็กระดับประเทศ ได้แก่ โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร จังหวัดร้อยเอ็ด

6) สุดยอด โรงเรียน อย.น้อย ที่มีผลงานโดดเด่นดีเยี่ยม ด้านนวัตกรรม ประเภทโรงเรียนขนาดใหญ่ ระดับประเทศ ได้แก่ โรงเรียนประสานวิทยามูลนิธิ จังหวัดปัตตานี

7) สุดยอด โรงเรียน อย.น้อย ที่มีผลงานโดดเด่นดีเยี่ยม ด้านนวัตกรรม ประเภทโรงเรียนขนาดเล็ก ระดับประเทศได้แก่ โรงเรียนบ้านขาม จังหวัดสกลนคร

8) สุดยอด โรงเรียน อย.น้อย ที่มีผลงานโดดเด่นดีเยี่ยม ด้านสื่อสร้างสรรค์ ประเภทโรงเรียนขนาดใหญ่ระดับประเทศ ได้แก่ โรงเรียนคุรุประชาสรรค์ จังหวัดชัยนาท

9) สุดยอด โรงเรียน อย.น้อย ที่มีผลงานโดดเด่นดีเยี่ยม ด้านสื่อสร้างสรรค์ ประเภทโรงเรียนขนาดเล็ก ระดับประเทศ ได้แก่ โรงเรียนปงยางคก (ทิพย์ช้างอนุสรณ์) จังหวัดลําปาง




ทั้งนี้ การขับเคลื่อนให้เกิดเครือข่ายชุมชนร่วมใจ ป้องกันภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพ หรือ เครือข่าย บวร.ร. และ โรงเรียน อย. น้อย เป็นหนึ่งในพันธกิจสําคัญของสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา ตามเป้าหมาย “ ผู้บริโภคปลอดภัย ผู้ประกอบการพัฒนาไกล ระบบคุ้มครองสุขภาพไทยยั่งยืน” โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การดําเนินงานโครงการดังกล่าว จะส่งเสริมให้ประชาชนลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ โดยมุ่งพัฒนาศักยภาพและองค์ความรู้ให้ผู้บริโภคมีพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสม รวมถึงพัฒนา ขยายเครือข่ายภาคประชาชนและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยกันจัดการหรือป้องกันปัญหาด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ทางชุมชนในแต่ละพื้นที่นั้น ๆ ประสบอยู่ ตามกําลังและความสามารถของคนในชุมชน สามารถดูแลตนเองให้มีพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง มีสุขภาพแข็งแรง และปลอดภัย ป้องกันภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพต่อไป




รายชื่อผู้ได้รับรางวัล อื่น ๆ ภายใต้การดําเนินงาน โครงการเครือข่ายชุมชนร่วมใจ ป้องกันภัยผลิตภัณฑ์สุขภาพ ประจําปีงบประมาณ 2567


รางวัลหน่วยงานปราบปรามและดําเนินคดีผลิตภัณฑ์สุขภาพ จํานวน 2 รางวัล

ประกอบด้วย

1) รางวัลหน่วยงานปราบปรามผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายดีเด่น ได้แก่ ได้แก่ กองบังคับการปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค

2) รางวัลหน่วยงานดําเนินคดีผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายดีเด่น ได้แก่ สถานีตํารวจนครบาลห้วยขวาง


รางวัลผลงานสื่อสร้างสรรค์ นักสื่อสารด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ จํานวน 18 รางวัล

ประกอบด้วย


1) ประเภทนักเรียน/นักศึกษา ภายใต้แนวคิด “วัยรุ่นยุคใหม่ ใส่ใจผลิตภัณฑ์สุขภาพ” ลําดับที่ 1 รางวัลคลิป

สร้างสรรค์ยอดเยี่ยม จํานวน 5 รางวัล ได้แก่

- นายธวัชชัย ติ๊บลําเอี้ยง จากมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก

ชื่อผลงาน “รู้จักฉลาก อ่านก่อนซื้อ”

- เด็กหญิงอัยนาอ์ เบ็ญจวัง จากโรงเรียนโพธิ์ทอง “จินดามณี”

จังหวัดอ่างทอง ชื่อผลงาน “เปิดเทอมฉันจะขาว”

- นายคุณภัทร หุ่นสุวรรณ์ จากมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก

ชื่อผลงาน “ไวท์โต๊ะ ขาว white ไว”

- นางสาวโสภิดา ธรามานิตย์ จากโรงเรียนนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์

ชื่อผลงาน “วิธีเลือกครีมกันแดดให้เหมาะสม”

- นางสาวธัญลักษณ์ สิงห์ลอยลม จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ศูนย์เทเวศร์

กรุงเทพมหานคร

ชื่อผลงาน “เลือกซื้อ เลือกกิน เลือกใช้” ขอแสดงความยินดีด้วยค่ะ


2) ประเภทนักเรียน/นักศึกษา ภายใต้แนวคิด “วัยรุ่นยุคใหม่ ใส่ใจผลิตภัณฑ์สุขภาพ” ลําดับที่ 2 รางวัลคลิป

สร้างสรรค์ดีเด่น จํานวน 10 รางวัล ได้แก่

- นายฉัตรดนัย เกิดภารา จากมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก

ชื่อผลงาน “เช็ก ก่อน ใช้”

- นางสาวสีน้ํา รักษ์ภู จากโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี กรุงเทพมหานคร

ชื่อผลงาน “เด็กหญิงน่ารัก”

- นางสาวเวณิกา เกษสาคร จากโรงรียนวังน้ําเย็นวิทยาคม จังหวัดสระแก้ว

ชื่อผลงาน “รักนะ อย.”

- นายธนบูรณ์ กองประทุม จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ศูนย์เทเวศร์ กรุงเทพมหานคร

ชื่อผลงาน “กินได้แต่ต้องเลือกกินดี ๆ”

- นางสาวอรพรรณ อึ้งมีเจริญสุขดี จากโรงเรียนอนุบาลกบินทร์บุรีจังหวัดปราจีนบุรี

ชื่อผลงาน “อร่อยแต่ไม่รอด”

- นายนภสินธุ์ พันธุ์ศรี จากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จังหวัดนครปฐม

ชื่อผลงาน “IF I KNOW รู้อะไรไม่เท่ารู้งี้”

- นางสาวรวีวรรณ แก้วลาวเวียง จากโรงเรียนเทศบาล 5 วัดพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม

ชื่อผลงาน “ฉลาดเลือกฉลาดใช้”

- นายฟาดีลัน ยีเล๊าะ จากโรงเรียนดารุสสาลาม จังหวัดนราธิวาส

ชื่อผลงาน “สิ่งที่ต้องแลก”

- นายศุภกร ธาตุศรี จากโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนครปฐม

ชื่อผลงาน “หล่อปลอดภัยใส่ใจ อย.”


3) ประเภทบุคลากรสาธารณสุขและประเภทบุคคลทั่วไป จํานวน 3 รางวัล (ไม่ได้มารับรางวัล)

รางวัลสร้างความรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ซึ่งมอบให้แก่สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด ชุมชน และโรงเรียน อย. น้อย รวมจํานวน ๑๐๕ ประกอบด้วย

1) สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดดีเด่น ต้นแบบการเผยแพร่ข่าวสารผลิตภัณฑ์สุขภาพ จํานวน 1 รางวัล ได้แก่

สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดระนอง

2) รางวัลสํานักงานสาธารณสุขจังหวัด และเครือข่ายที่เริ่มต้นดําเนินงานชุมชน บวร.ร. ประจําปี พ.ศ. 2567

จํานวน 12 รางวัล ได้แก่

เขตสุขภาพที่ 1 สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่ ชุมชนต้าผาหมอก

เขตสุขภาพที่ 2 สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก ชุมชนบ้านแม่กาษา

เขตสุขภาพที่ 3 สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาท ชุมชนบ้านหัวเด่น

เขตสุขภาพที่ 4 สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี ชุมชนอําเภอในเมือง

เขตสุขภาพที่ 5 สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี ชุมชนคอวัง

เขตสุขภาพที่ 6 สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดตราด ชุมชนคลองใหญ่

เขตสุขภาพที่ 7 สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ ชุมชนตําบลหนองอีบุตร

เขตสุขภาพที่ 8 สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี ชุมชนบ้านเชียง

เขตสุขภาพที่ 9 สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ชุมชนบ้านเสิงสาง

เขตสุขภาพที่ 10 สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร ชุมชนวัดมโนศลา

เขตสุขภาพที่ 11 สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา ชุมชนบางทอง

เขตสุขภาพที่ 12 สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี ชุมชนสะเบารัง

3) รางวัล สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด และเครือข่ายที่ร่วมขับเคลื่อนสร้างความรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ผู้สูงอายุในชุมชน จํานวน 16 รางวัล ได้แก่

สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดลําพูน

สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย

สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดอุทัยธานี

สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดนครนายก

สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี

สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรี

สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด

สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม

สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร

สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ

สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร

สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดกระบี่

สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง

สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล

สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา

4) รางวัล สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด และเครือข่ายต้นแบบการดําเนินงานชุมชน บวร.ร. ที่มีการพัฒนา

อย่างต่อเนื่อง จํานวน 5 รางวัล ได้แก่

สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดลําปาง

สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย

สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดอุทัยธานี

สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด

สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ

5) รางวัลสําหรับสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดที่เป็นเจ้าภาพในการจัดงานคัดเลือกชุมชนรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์

สุขภาพ บวร.ร. ที่มีผลงานโดดเด่น (Best Practice) ระดับเขตสุขภาพ จํานวน 4 รางวัล ได้แก่

เจ้าภาพภาคเหนือ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก

เจ้าภาพภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัขอนแก่น

เจ้าภาพภาคกลาง สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม

เจ้าภาพภาคใต้ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี

6) รางวัล โรงเรียน อย. น้อย ต้นแบบขยายผลการพัฒนาหลักสูตรคุ้มครองผู้บริโภคในสถานศึกษา จํานวน

4 รางวัล ได้แก่

โรงเรียนธาตุนารายณ์วิทยา จังหวัดสกลนคร

โรงเรียนนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี

โรงเรียนสุเหร่าปากคลองลํารี จังหวัดนนทบุรี

โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร จังหวัดร้อยเอ็ด

7) รางวัล โรงเรียน อย. น้อย นําร่องในเขตกรุงเทพมหานคร ประจําปี พ.ศ. 2567 จํานวน 5 รางวัล ได้แก่

โรงเรียนวัดสร้อยทอง

โรงเรียนวัดไก่เตี้ย (สวัสดิ์ประชานุกูล)

โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย

โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 2

โรงเรียนบางจาก (โกมลประเสริฐอุทิศ)

8) รางวัล ผลงานสถานศึกษา (โรงเรียน อย.น้อย) ที่มีผลงานโดดเด่น (Best Practice) ระดับประเทศ จํานวน 42 รางวัล ได้แก่

- เขตสุขภาพที่ 1 สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย โรงเรียนชุมชนศึกษา (บ้านแม่สะแลป)

- สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม

- สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่ โรงเรียนเด่นไชยประชานุกูล

- สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดลําปาง โรงเรียนสบปราบพิทยาคม และโรงเรียนปงยางคก (ทิพย์ช้างอนุสรณ์)

- เขตสุขภาพที่ 2 สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก โรงเรียนบ้านแม่กาษา

- สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก โรงเรียนวัดปากพิงตะวันตก และ โรงเรียนจ่านกร้อง

- เขตสุขภาพที่ 3 สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์ โรงเรียนวัดคลองบางเดื่อ

- สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาท โรงเรียนคุรุประชาสรรค์ และ โรงเรียนวัดโฆสิตาราม

- เขตสุขภาพที่ 4 สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี โรงเรียนชัยบาดาลวิทยา และ โรงเรียนวัดสุนทรเทพคีรี

- สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี โรงเรียนสุเหร่าปากคลองลํารี

- เขตสุขภาพที่ 6 สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดตราด โรงเรียนคลองใหญ่วิทยาคม

- สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี โรงเรียนสัตหีบวิทยาคม

- เขตสุขภาพที่ 7 สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม โรงเรียนผดุงนารี และ โรงเรียนบ้านวังแสง

- สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร และ โรงเรียนสุวรรณภูมิพิทยไพศาล

- สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร

- เขตสุขภาพที่ 8 สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร โรงเรียนธาตุนารายณ์วิทยา และ โรงเรียนบ้านขาม

- สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย โรงเรียนกุดบงพิทยาคาร

- เขตสุขภาพที่ 9 สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ โรงเรียนอนุบาลสุรินทร์

- สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา โรงเรียนชุมชนบ้านเสิงสาง

- เขตสุขภาพที่ 10 สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ โรงเรียนปรางค์กู่ และโรงเรียนบ้านยางบอน (อําพานุสรณ์)

- สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดอํานาจเจริญ โรงเรียนพนาศึกษา

- สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร โรงเรียนชุมชนบ้านบึงแกชัยชนะบูรพา

- เขตสุขภาพที่ 11 สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช โรงเรียนวัดขนาน และ โรงเรียนสตรีทุ่งสง

- สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี โรงเรียนนาสาร และ โรงเรียนบ้านคลองนามิตรภาพที่ 201

- สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดกระบี่ โรงเรียนเทศบาล 2 คลองจิหลาด

- เขตสุขภาพที่ 12 สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล โรงเรียนสตูลวิทยา

- สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา โรงเรียนลําไพลราษฎร์อุทิศ

- สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี โรงเรียนประสานวิทยามูลนิธิ

- สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา โรงเรียนพัฒนาวิทยา

- สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง โรงเรียนบางแก้วพิทยาคม

- เขตสุขภาพที่ 13 กรุงเทพมหานคร โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย และ โรงเรียนวัดคลองเตย

9) รางวัล ผลงานชุมชน (เครือข่าย บวร.ร.) ที่มีผลงานโดดเด่น (Best Practice) จํานวน 16 รางวัล ได้แก่

เขตสุขภาพที่ 1 สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ชุมชนท่ากว้าง อําเภอสารภี

เขตสุขภาพที่ 2 สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย ชุมชนหนองหญ้าปล้อง และ สํานักงานสาธารณสุข

จังหวัดพิษณุโลก ชุมชน บวร.ร. วิถีคนบ่อโพธิ์

เขตสุขภาพที่ 3 สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาท ชุมชนตําบลตลุก

เขตสุขภาพที่ 4 สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี ชุมชนตําบลละหาร อําเภอบางบัวทอง

เขตสุขภาพที่ 5 สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี ชุมชนบ้านท่าอีปะ หมู่ที่ 13 ตําบลด่านทับตะโก และ

สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม ชุมชนตําบลท่าตําหนัก

เขตสุขภาพที่ 6 สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดตราด ชุมชนอําเภอคลองใหญ่

เขตสุขภาพที่ 7 สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ ชุมชนตําบลหนองอีบุตร อําเภอห้วยผึ้ง และ

สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ชุมชน บวร.ร. ตําบลนาจาน

เขตสุขภาพที่ 8 สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร ชุมชนบ้านโนนอุดม ตําบลศรีวิชัย อําเภอวานรนิวาส

เขตสุขภาพที่ 9 สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ ชุมชนตําบลบ้านตะโก อําเภอห้วยราช

เขตสุขภาพที่ 10 สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ ชุมชนตําบลส้มป่อย อําเภอราษีไศล

เขตสุขภาพที่ 11 สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช ชุมชนป่าระกํา อําเภอปากพนัง

และ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี ชุมชนตําบลไทรทอง

จังหวัดสุดท้าย เขตสุขภาพที่ 12 สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง ชุมชนหานโพธิ์


No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad