ตามที่ทางคณะกรรมการกองทุนความเสี่ยง ได้มีการจัดประชุมเพื่อจัดตั้งกองทุนความเสี่ยง ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 นั้น ทางประธานสภาองค์การนายจ้างทั้ง 16 สภา สมาคมนายจ้าง สภาอุตสาหกรรม หอการค้า สมาคมพ่อค้าไทย ในฐานะตัวแทนนายจ้าง กรรมการผู้จัดการบริษัท และห้างร้านต่างๆทั่วประเทศ ได้ทำหนังสือคัดค้านการจัดตั้งกองทุนความเสี่ยงดังกล่าว ที่มีแนวคิดในการจัดเก็บเงินชดเชยไว้ก่อนล่วงหน้าจากนายจ้าง ซึ่งจะทำให้นายจ้างต้องจัดหาเงินจำนวนมหาศาลมาจ่ายให้กับกองทุนความเสี่ยงนี้ และหากนายจ้างรายใดไม่สามารถจ่ายเงินชดเชยไว้ก่อนลวงหน้าได้ จะเป็นผลให้ บริษัท ห้างร้าน หรือ นายจ้างรายนั้นถูกดำเนินคดี และถูกสั่งปิดกิจการ ซึ่งจะทำให้ส่งผลต่อเศรษฐกิจขอประเทศในภาพรวมอย่างแน่นอน
นายประสาน ทองทิพย์ ประธานสมาคมนายจ้าง กล่าวว่า ในฐานะตนเองเป็นตัวแทนของกลุ่มนายจ้างทั้งหมดซึ่งมากกว่า 16 สภา ไม่ว่าจะเป็นสมาคมนายจ้าง สภาอุตสาหกรรม หอการค้า สมาคมพ่อค้าไททย และอีกหลายองค์กรที่ไม่สะดวกมาวันนี้ ก็ไม่เป็นเห็นด้วยกับกองทุนความเสี่ยงที่กระทรวงแรงงานจะจัดตั้งขึ้น เพราะจะส่งผลอย่างมากต่อการเงินของบริษัทในการสำรองเงิน ทุกวันนี้เศรษฐกิจทั่วโลกขาลงทั้งในประเทศไทยเราและต่างประเทศ การจัดตั้งกองทุนดังกล่าวทำให้บริษัทขาดสภาพคล่องได้
ทางทีมพัฒนาประกันสังคม นำโดย ดร. ทวีเกียรติ รองสวัสดิ์ และผู้สมัครทั้ง 7 คน ประกอบด้วย
“ ดร.ทวีเกียรดิ รองสวัสดิ์ เบอร์ 3, นายทรงกรด ชูศรี เบอร์ 4, นางสาวเบญจพร บุษมงคล เบอร์ 5, นายชัชพงศ์ โชติศิริ เบอร์ 6, นางสาวฟารีดา บุรณนัฏ เบอร์ที่ 7,นายสมพงศ์ นครศรี เบอร์ 8 และ นางณัฐหทัย พรชัยศิริมงคล เบอร์ 62 ” ได้รับมอบหนังสือคัดค้านดังกล่าวจาก 16 สภาองค์การนายจ้าง และพร้อมที่ผนึกกำลังในการขับเคลื่อนวาระสำคัญนี้ เพื่อให้ความเป็นธรรมกับทั้งนายจ้างและผู้ประกันตน ภายใต้วิสัยทัศน์ของทีมในการมุ่งมั่นพัฒนาประกันสังคมให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อนายจ้างและผู้ประกันตนอย่างเป็นธรรม ทั้งนี้ทางทีมพัฒนาประกันสังคมจะนำหนังสือคัดค้านมอบให้กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานต่อไป และสามารถติดตามข้อมูลต่างๆ ได้ที่เพจของทีมพัฒนาประกันสังคม
No comments:
Post a Comment