วช. ร่วม สอศ. มอบรางวัลติดดาว 18 ผลงานเด่น นักประดิษฐ์สายอาชีวศึกษา เสริมศักยภาพสร้างแรงจูงใจ ในกิจกรรมบ่มเพาะพื้นที่ภาคใต้ - Siam Daily

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Friday, March 1, 2024

วช. ร่วม สอศ. มอบรางวัลติดดาว 18 ผลงานเด่น นักประดิษฐ์สายอาชีวศึกษา เสริมศักยภาพสร้างแรงจูงใจ ในกิจกรรมบ่มเพาะพื้นที่ภาคใต้


วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดกิจกรรมการเพิ่มศักยภาพและมาตรฐานบุคลากรอุดมศึกษา: บ่มเพาะและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานและกล่าวแสดงความยินดีในการมอบรางวัลกิจกรรมติดดาวและเกียรติบัตรให้แก่ผู้เข้าร่วมการบ่มเพาะ ณ โรงแรมแก้วสมุย รีสอร์ท จังหวัดสุราษฎร์ธานี



ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า กิจกรรมการเพิ่มศักยภาพและมาตรฐานบุคลากรอุดมศึกษา: บ่มเพาะและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม ประจำปี 2567 ได้รับการตอบรับจาก นิสิต นักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาในการร่วมกิจกรรมในครั้งนี้

เป็นจำนวนมาก กิจกรรมมุ่งเน้นการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาทักษะและเทคนิคในด้านการประดิษฐ์คิดค้นและนวัตกรรม ให้สามารถสร้างสรรค์ผลงานและพัฒนางานประดิษฐ์ที่ได้มาตรฐานตอบโจทย์ผู้ใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต




สำหรับรางวัลติดดาว ผลงานการนำเสนอได้อย่างโดดเด่นจำนวน 18 ผลงาน ใน 5 กลุ่มเรื่อง ได้แก่ 


กลุ่มที่ 1) ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร

- อาหารผงลูกปลาตะกรับเสริมกราซิลาเรีย

จาก วิทยาลัยประมงติณสูลานนท์ (รางวัลระดับ 5 ดาว)

- แผงฟักไข่ปลานิลระบบพลังงานโซล่าเซลล์ควบคุมโดยระบบ IoT 

จาก วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครศรีธรรมราช (รางวัลระดับ 4 ดาว)

- ปุ๋ยมูลนกนางแอ่นผสมเปลือกปูม้าบด

จาก วิทยาลัยประมงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ (รางวัลระดับ 3 ดาว)

- ผลิตภัณฑ์สารเคลือบผักผลไม้ไคโตซานเกล็ดปลากะพงขาวเสริมยูจีนอลจากใบกะเพรา

จาก วิทยาลัยการอาชีพเกาะสมุย (รางวัลระดับ 3 ดาว)


กลุ่มที่ 2) ด้านการสาธารณสุข สุขภาพ และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ

- เบบี้จังเกิ้ล

จาก วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช (รางวัลระดับ 4 ดาว)

- ผลิตภัณฑ์แผ่นแว็กซ์กำจัดขนจากน้ำผึ้งชันโรงเสริมสารเหนียวด้วยไมโครคริสตัลไลน

จาก วิทยาลัยเทคนิคสตูล (รางวัลระดับ 3 ดาว)

- รีเฟรซบ๊อก ทูอินวัน

จาก วิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช (รางวัลระดับ 3 ดาว)


กลุ่มที่ 3) การพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และอุปกรณ์อัจฉริยะ 

- เครื่องคัดแยกมังคุดเพื่อการส่งออกด้วยระบบ AI 

จาก วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี (รางวัลระดับ 5 ดาว)

- ชุดอุปกรณ์เตือนความปลอดภัยของผู้ขับขี่จักรยาน

จาก วิทยาลัยเทคนิคพัทลุง (รางวัลระดับ 4 ดาว)

- อุปกรณ์เก็บน้ำผึ้งชันโรงและตรวจค่าความชื้นแจ้งเตือนผ่านแอปพลิเคชันไลน์

จาก วิทยาลัยเทคนิคสตูล (รางวัลระดับ 3 ดาว)

- ชุดเพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่นอัจฉริยะ

จาก วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต (รางวัลระดับ 3 ดาว)


กลุ่มที่ 4) พลังงาน สิ่งแวดล้อม และ BCG Economy Model

- เครื่องผลิตคราฟเบียร์จากข้าวสังข์หยดอินทรีย์ระบบน้ำหมุนเวียนกึ่งอัตโนมัติ

จาก วิทยาลัยเทคนิคพัทลุง (รางวัลระดับ 4 ดาว)

- ตู้นึ่งทำขนมชั้นระบบเติมแป้งกึ่งอัตโนมัติสำหรับวิสาหกิจชุมชน

จาก วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี (รางวัลระดับ 4 ดาว)

- เครื่องชักลากวัชพืชและผักตบชวาพร้อมอุปกรณ์ดีดหัวเกี่ยวแบบติดตั้งกับรถจักรยานยนต์

จาก วิทยาลัยเทคนิคสงขลา (รางวัลระดับ 3 ดาว)


กลุ่มที่ 5) ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจสร้างสรรค์

- ผลิตภัณฑ์ผ้าบาติกจากสีใบสักทองสู่ลวดลายอัตลักษณ์ “อุทยานธรณีโลก” สตูล

จากวิทยาลัยเทคนิคสตูล (รางวัลระดับ 5 ดาว)

- ขนมจีนอบแห้งเสริมโปรตีนจากไข่ผำ 

จาก วิทยาลัยการอาชีพเกาะสมุย (รางวัลระดับ 4 ดาว)

- แชมพูสมุนไพรด็อกเลิฟ

จาก วิทยาลัยเทคโนโลยีสุราษฎร์พาณิชยการ (รางวัลระดับ 3 ดาว)

- ผลิตภัณฑ์เคลือบและบำรุงผิวไม้จากสารสกัดปาล์มน้ำมัน

จาก วิทยาลัยเทคนิคตรัง (รางวัลระดับ 3 ดาว)



ทั้งนี้ กิจกรรมการเพิ่มศักยภาพและมาตรฐานบุคลากรอุดมศึกษา: บ่มเพาะและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม ได้วางเป้าหมายให้กิจกรรมดังกล่าวเป็นกลไกสำคัญ ที่จะพัฒนาสมรรถนะและเทคนิคด้านการประดิษฐ์คิดค้นและนวัตกรรมของคณาจารย์และนิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาให้สามารถพัฒนาผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม ที่ตอบโจทย์และความต้องการของประเทศ






No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad