กรมหม่อนไหมร่วมติดตามคณะรัฐมนตรีลงพื้นที่ติดตามโครงการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยแม่ประจันต์ จ.เพชรบุรี - Siam Daily

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Wednesday, May 22, 2024

กรมหม่อนไหมร่วมติดตามคณะรัฐมนตรีลงพื้นที่ติดตามโครงการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยแม่ประจันต์ จ.เพชรบุรี

 

           พันจ่าเอกประเสริฐ มาลัย อธิบดีกรมหม่อนไหม พร้อมด้วย นายวัชรพงษ์ แก้วหอม รองอธิบดีกรมหม่อนไหม นายศรัญญู พูลลาภ รองอธิบดีกรมหม่อนไหม นางสาววนิดา สุวรรณสิทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เขต 5 นายประยุทธ จันทร์เหม ผู้อำนวยการศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ กาญจนบุรี และเจ้าหน้าที่กรมหม่อนไหม ร่วมติดตามคณะร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยนายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ติดตามโครงการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยแม่ประจันต์ จ.เพชรบุรี ณ โครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำท่าหัวลบ ต.วังไคร้ อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี ซึ่งกรมชลประทาน ได้ดำเนินโครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำดังกล่าว เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำ พื้นที่รับประโยชน์ 2,780 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 2 ตำบล 2 อำเภอ จ.เพชรบุรี (ต.วังไคร้ อ.ท่ายาง และ ต.วังจันทร์ อ.แก่งกระจาน) ให้ชาวบ้านรวมกว่า 1,937 ครัวเรือน ได้มีน้ำใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค รวมไปถึงเกษตรกรรมได้อย่างเพียงพอตลอดทั้งปี



    จากนั้น เดินทางติดตามการดำเนินงานโครงการเพิ่มประสิทธิภาพความจุอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ประจันต์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ พร้อมพบปะเกษตรกร และมอบโฉนดที่ดินเพื่อการเกษตรให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอหนองหญ้าปล้อง ต.ท่าตะคร้อ อ.หนองหญ้าปล้อง และลงพื้นที่ตรวจอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ประจันต์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต.ท่าตะคร้อ อ.หนองหญ้าปล้อง จ.เพชรบุรี ซึ่งปัจจุบันมีระดับความจุเก็บกักอยู่ที่ 42.20 ล้าน ลบ.ม. แต่เนื่องจากมีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างฯ เฉลี่ยมากถึง 74.30 ล้าน ลบ.ม. ทำให้จำเป็นต้องพร่องระบายน้ำส่วนเกินออกจากอ่างเก็บน้ำ เพื่อรองรับปริมาณน้ำที่จะเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูฝน และช่วยรักษาระดับให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด กรมชลประทาน จึงมีแผนขุดลอกอ่างเก็บห้วยแม่ประจันต์ เพื่อเพิ่มความจุของอ่างฯจากเดิม 42.20 ล้าน ลบ.ม. เป็น 49.10 ล้าน ลบ.ม. เพื่อใช้เป็นแหล่งน้ำต้นทุนในการอุปโภคบริโภค และการเกษตร









No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad