ในช่วงเวลาที่ผ่านมานี้ทุกๆ คน คงจะได้ยินคำศัพท์ยอดฮิตอย่าง ‘Soft Power’ ที่ถูกใช้อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลาที่ภาพยนตร์เรื่อง ‘สัปเหร่อ’ กำลังได้รับความนิยม มีบางคนกล่าวว่า สัปเหร่อ คือ Soft Power ถึงแม้ว่าผู้กำกับจะยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันคืออะไร?
เพื่อไขข้อสงสัยของใครหลายๆ คนกับศัพท์คำนี้ มันมีความหมายจริงๆ หรือ เป็นเพียงแค่ Buzzword ไว้พูดเกร๋ๆ กันแน่.
[‘Soft Power’ อำนาจอ่อน ] คำว่า Soft Power เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 1990 โดย Joseph S. Nye เดิมทีแล้วเป็นแนวคิดที่ถูกใช้ในบริบทของรัฐศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ. ในบริบทของรัฐศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คำว่าอำนาจจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภทคือ Hard Power และ Soft Power ในส่วนของ Hard Power คืออำนาจเชิงบังคับที่อยู่ในรูปแบบของการทหาร การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะก่อให้เกิดความรุนแรง หรือ ทำให้ตกอยู่ภายใต้อำนาจของประเทศเจ้าของ Hard Power นั้นๆ.
Soft Power จึงมีความหมาย เป็นขั้วตรงข้ามของ Hard Power คำนิยามสั้นๆ ที่ได้ใจความของมันคือ “อำนาจแห่งการโน้มน้าวใจ” คุณไม่จำเป็นจะต้องใช้กำลังทางทหารเพื่อสร้างความหลงใหลนี้ แต่คุณต้องใช้ทุนที่มีอยู่ในประเทศ สร้างการโน้มน้าวใจต่อประเทศเป้าหมาย คำว่าทุนในบริบทนี้มีด้วยกัน 3 อย่าง 1.ทุนทางวัฒนธรรม 2.ค่านิยมทางการเมือง 3.นโยบายต่างประเทศ.
ภายใต้กรอบของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศการส่งออก Soft Power ให้สำเร็จนั้น ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ของรัฐบาลทั้งสองฝั่ง ฝั่งที่ส่งออกก็ต้องมีรัฐคอยขับเคลื่อนในการผลักดันทุน ฝั่งที่รับก็ต้องมีรัฐบาลที่ได้รับอิทธิพลและหลงใหลทุนเหล่านั้น ถึงจะเรียกว่า Soft Power. ด้วยเหตุนี้ทำให้หลายๆ คนเข้าใจคำว่า Soft Power ผิดคิดแค่ว่าอะไรคือสิ่งที่ได้รับความนิยมก็เป็น Soft Power ทั้งนั้น แต่ในความเป็นจริงมันซับซ้อนมากๆ และในความซับซ้อนนี้ก็สร้างความเข้าใจผิดได้มากเช่นกัน.
[หนึ่งในกรณีศึกษาของความเข้าใจผิดที่เกิดขึ้น ‘LALISA’]
เมื่อปี 2021 มีกระแสความชื่นชมว่า ‘LALISA’ เป็น Music Video ที่แสดงความเป็นไทย เป็น Soft Power ที่สร้างความน่าหลงใหลให้กับประเทศไทย แต่มันเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องนัก ถึงแม้เราจะเห็นต้นทุนที่เป็นวัฒนธรรมของไทยในองค์ประกอบของวิดีโอก็ไม่ได้หมายความว่ามันคือ Soft Power ของไทย เพราะ LALISA เป็นเพลงแนว K-Pop จุดประสงค์หลักของมันคือการขายวัฒนธรรมเพลงป็อปเกาหลี ที่มีองค์ประกอบของความเป็นไทยประดับเฉยๆ ดังนั้น มันจึงไม่ใช่ Soft Power แต่อย่างใด.
น่าเสียดายนักที่เราอยากจะยกตัวอย่างของ Soft Power ประเทศไทย แต่ไม่สามารถทำได้เพราะ “ยังไม่มีอะไรที่เป็น Soft Power ของไทยอย่างแท้จริง” ทำให้คำว่า Soft Power ที่พูดกันอยู่นี้เป็นได้แค่ Buzzword เท่านั้น สถานการณ์ของประเทศไทยกับคำว่า Soft Power ตอนนี้ จะมีเพียงแค่ต้นทุนที่มีแนวโน้มสามารถผลักดันเป็น Soft Power ได้ในอนาคต.
[ศึกษา Soft Power จากประเทศที่มีอยู่จริง]
ถึงแม้ในตอนนี้ประเทศไทยจะยังไม่มี Soft Power อย่างแท้จริง แต่เพื่อทำให้ผู้อ่านเห็นภาพของอำนาจแห่งความหลงใหล เราอยากจะนำเสนอกรณีศึกษาของ Soft Power จากประเทศญี่ปุ่นที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก. ประเทศญี่ปุ่นใช้แนวคิด Soft Power กับนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (คำว่า เศรษฐกิจสร้างสรรค์ คือ แนวคิดของการนำวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์มาเพิ่มมูลค่า) เกิดเป็นนโยบาย Cool Japan ที่สนับสนุนวัฒนธรรมญี่ปุ่นให้มีส่วนในการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ เช่น Manga, Anime, J-Rock เป็นต้น.
ความพิเศษของญี่ปุ่นคือมีต้นทุนที่สามารถสร้าง Soft Power ได้จากทั้งวัฒนธรรมดั้งเดิม และวัฒนธรรมประชานิยม โดยแบ่ง Soft Power ออกเป็น 2 มุมมอง.
1. Culture Odour วัฒนธรรมดั้งเดิม หรือ สิ่งที่มีกลิ่นอายของความเป็นญี่ปุ่น เช่น ชุดกิโมโน หรือ เทศกาลทานาบาตะ(การขอพรดวงดาว).
2. Mukokuseki วัฒนธรรมประชานิยมมาจาก Manga เป็นส่วนมาก คำนิยามของมันคือ “บางสิ่งหรือบางคนที่ไม่มีความเป็นชาติอยู่” เช่น ตัวละครจากการ์ตูนที่ไม่มีความเป็นญี่ปุ่นเลยแต่เมื่อเห็นแล้วคุณรู้ว่ามันคือวัฒนธรรมประชานิยมของญี่ปุ่น เช่น Attack On Titan.
[‘Soft Power’ อำนาจอ่อน ] คำว่า Soft Power เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 1990 โดย Joseph S. Nye เดิมทีแล้วเป็นแนวคิดที่ถูกใช้ในบริบทของรัฐศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ. ในบริบทของรัฐศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คำว่าอำนาจจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภทคือ Hard Power และ Soft Power ในส่วนของ Hard Power คืออำนาจเชิงบังคับที่อยู่ในรูปแบบของการทหาร การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะก่อให้เกิดความรุนแรง หรือ ทำให้ตกอยู่ภายใต้อำนาจของประเทศเจ้าของ Hard Power นั้นๆ.
Soft Power จึงมีความหมาย เป็นขั้วตรงข้ามของ Hard Power คำนิยามสั้นๆ ที่ได้ใจความของมันคือ “อำนาจแห่งการโน้มน้าวใจ” คุณไม่จำเป็นจะต้องใช้กำลังทางทหารเพื่อสร้างความหลงใหลนี้ แต่คุณต้องใช้ทุนที่มีอยู่ในประเทศ สร้างการโน้มน้าวใจต่อประเทศเป้าหมาย คำว่าทุนในบริบทนี้มีด้วยกัน 3 อย่าง 1.ทุนทางวัฒนธรรม 2.ค่านิยมทางการเมือง 3.นโยบายต่างประเทศ.
ภายใต้กรอบของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศการส่งออก Soft Power ให้สำเร็จนั้น ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ของรัฐบาลทั้งสองฝั่ง ฝั่งที่ส่งออกก็ต้องมีรัฐคอยขับเคลื่อนในการผลักดันทุน ฝั่งที่รับก็ต้องมีรัฐบาลที่ได้รับอิทธิพลและหลงใหลทุนเหล่านั้น ถึงจะเรียกว่า Soft Power. ด้วยเหตุนี้ทำให้หลายๆ คนเข้าใจคำว่า Soft Power ผิดคิดแค่ว่าอะไรคือสิ่งที่ได้รับความนิยมก็เป็น Soft Power ทั้งนั้น แต่ในความเป็นจริงมันซับซ้อนมากๆ และในความซับซ้อนนี้ก็สร้างความเข้าใจผิดได้มากเช่นกัน.
[หนึ่งในกรณีศึกษาของความเข้าใจผิดที่เกิดขึ้น ‘LALISA’]
เมื่อปี 2021 มีกระแสความชื่นชมว่า ‘LALISA’ เป็น Music Video ที่แสดงความเป็นไทย เป็น Soft Power ที่สร้างความน่าหลงใหลให้กับประเทศไทย แต่มันเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องนัก ถึงแม้เราจะเห็นต้นทุนที่เป็นวัฒนธรรมของไทยในองค์ประกอบของวิดีโอก็ไม่ได้หมายความว่ามันคือ Soft Power ของไทย เพราะ LALISA เป็นเพลงแนว K-Pop จุดประสงค์หลักของมันคือการขายวัฒนธรรมเพลงป็อปเกาหลี ที่มีองค์ประกอบของความเป็นไทยประดับเฉยๆ ดังนั้น มันจึงไม่ใช่ Soft Power แต่อย่างใด.
น่าเสียดายนักที่เราอยากจะยกตัวอย่างของ Soft Power ประเทศไทย แต่ไม่สามารถทำได้เพราะ “ยังไม่มีอะไรที่เป็น Soft Power ของไทยอย่างแท้จริง” ทำให้คำว่า Soft Power ที่พูดกันอยู่นี้เป็นได้แค่ Buzzword เท่านั้น สถานการณ์ของประเทศไทยกับคำว่า Soft Power ตอนนี้ จะมีเพียงแค่ต้นทุนที่มีแนวโน้มสามารถผลักดันเป็น Soft Power ได้ในอนาคต.
[ศึกษา Soft Power จากประเทศที่มีอยู่จริง]
ถึงแม้ในตอนนี้ประเทศไทยจะยังไม่มี Soft Power อย่างแท้จริง แต่เพื่อทำให้ผู้อ่านเห็นภาพของอำนาจแห่งความหลงใหล เราอยากจะนำเสนอกรณีศึกษาของ Soft Power จากประเทศญี่ปุ่นที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก. ประเทศญี่ปุ่นใช้แนวคิด Soft Power กับนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (คำว่า เศรษฐกิจสร้างสรรค์ คือ แนวคิดของการนำวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์มาเพิ่มมูลค่า) เกิดเป็นนโยบาย Cool Japan ที่สนับสนุนวัฒนธรรมญี่ปุ่นให้มีส่วนในการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ เช่น Manga, Anime, J-Rock เป็นต้น.
ความพิเศษของญี่ปุ่นคือมีต้นทุนที่สามารถสร้าง Soft Power ได้จากทั้งวัฒนธรรมดั้งเดิม และวัฒนธรรมประชานิยม โดยแบ่ง Soft Power ออกเป็น 2 มุมมอง.
1. Culture Odour วัฒนธรรมดั้งเดิม หรือ สิ่งที่มีกลิ่นอายของความเป็นญี่ปุ่น เช่น ชุดกิโมโน หรือ เทศกาลทานาบาตะ(การขอพรดวงดาว).
2. Mukokuseki วัฒนธรรมประชานิยมมาจาก Manga เป็นส่วนมาก คำนิยามของมันคือ “บางสิ่งหรือบางคนที่ไม่มีความเป็นชาติอยู่” เช่น ตัวละครจากการ์ตูนที่ไม่มีความเป็นญี่ปุ่นเลยแต่เมื่อเห็นแล้วคุณรู้ว่ามันคือวัฒนธรรมประชานิยมของญี่ปุ่น เช่น Attack On Titan.
ดังนั้น ในกรณีของประเทศญี่ปุ่นเป็นการใช้งาน Soft Power จากทุนทางวัฒนธรรมที่เกิดจากนโยบาย Cool Japan ที่ได้รับการสนับสนุนโดยรัฐบาล และสามารถสร้างสรรค์ผลงาน นำไปสู่การส่งออก Soft Power สร้างคุณค่าและมูลค่าให้กับต้นทุนเหล่านั้น.
[สถานการณ์ของ Soft Powerที่เป็นได้แค่ Buzzwordในประเทศไทย]
การที่คนบางกลุ่มบอกว่า สัปเหร่อ คือ Soft Power อาจจะเป็นการเข้าใจความหมายคลาดเคลื่อน เช่นเดียวกับการเข้าใจว่า ช็อกมิ้นท์คือ Soft Power สิ่งที่จะเป็น Soft Power ได้นั้นต้องมาจากทุนทั้ง 3 ประเภทตามแนวคิดของ Nye เพราะไทยเราไม่ได้มีต้นทุนวัฒนธรรมประชานิยมที่แข็งแรงแบบญี่ปุ่น เราจึงต้องยึดจากทุนวัฒนธรรม ค่านิยมทางการเมือง และนโยบายต่างประเทศ. แต่การที่เราไม่มี Soft Power อย่างแท้จริง ไม่ได้หมายความว่าเราไม่มีศักยภาพ เรายังมีทุนอยู่มากมายที่มีความสามารถในการผลักดันให้เกิดเป็น Soft Power ส่งออกและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ เราเพียงแค่ต้องเปลี่ยนมุมมองจากที่จะเรียกทุกสิ่งว่า Soft Power เป็นการเรียกสิ่งเหล่านั้นว่า ‘ต้นทุน’ เมื่อเราได้ขอบเขตของต้นทุนแล้ว จะช่วยให้การสนับสนุนและการออกแบบนโยบายเข้าถึงได้ตรงจุด ส่งผลให้ผลักดันต้นทุนไทยสู่การเป็น Soft Power ได้อย่างแท้จริง.อาหารไทย การแสดงไทย มวยไทย ทุกๆ สิ่งล้วนเป็นต้นทุนทางวัฒนธรรมที่มีความสามารถในการเปลี่ยนเป็น Soft Power ได้ทั้งสิ้น ขาดเพียงนโยบายการผลักดันที่ตรงจุดเท่านั้น.
[ สรุป ] คำว่า ‘Soft Power’ นั้นหมายถึงอำนาจอ่อน ที่มีเป้าหมายในการมอบความหลงใหลและโน้มน้าวใจให้มาชอบ โดยต้องอยู่ในกรอบของแนวคิดต้นทุนทางวัฒนธรรม ค่านิยมทางการเมือง และนโยบายต่างประเทศ สถานการณ์ในไทยตอนนี้ยังไม่มี Soft Power อย่างแท้จริง แต่มีต้นทุนที่สามารถผลักดันให้เกิด Soft Power อยู่มากมาย.
☘️โดย ธนพนธ์ หัสกรรัตน์
[สถานการณ์ของ Soft Powerที่เป็นได้แค่ Buzzwordในประเทศไทย]
การที่คนบางกลุ่มบอกว่า สัปเหร่อ คือ Soft Power อาจจะเป็นการเข้าใจความหมายคลาดเคลื่อน เช่นเดียวกับการเข้าใจว่า ช็อกมิ้นท์คือ Soft Power สิ่งที่จะเป็น Soft Power ได้นั้นต้องมาจากทุนทั้ง 3 ประเภทตามแนวคิดของ Nye เพราะไทยเราไม่ได้มีต้นทุนวัฒนธรรมประชานิยมที่แข็งแรงแบบญี่ปุ่น เราจึงต้องยึดจากทุนวัฒนธรรม ค่านิยมทางการเมือง และนโยบายต่างประเทศ. แต่การที่เราไม่มี Soft Power อย่างแท้จริง ไม่ได้หมายความว่าเราไม่มีศักยภาพ เรายังมีทุนอยู่มากมายที่มีความสามารถในการผลักดันให้เกิดเป็น Soft Power ส่งออกและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ เราเพียงแค่ต้องเปลี่ยนมุมมองจากที่จะเรียกทุกสิ่งว่า Soft Power เป็นการเรียกสิ่งเหล่านั้นว่า ‘ต้นทุน’ เมื่อเราได้ขอบเขตของต้นทุนแล้ว จะช่วยให้การสนับสนุนและการออกแบบนโยบายเข้าถึงได้ตรงจุด ส่งผลให้ผลักดันต้นทุนไทยสู่การเป็น Soft Power ได้อย่างแท้จริง.อาหารไทย การแสดงไทย มวยไทย ทุกๆ สิ่งล้วนเป็นต้นทุนทางวัฒนธรรมที่มีความสามารถในการเปลี่ยนเป็น Soft Power ได้ทั้งสิ้น ขาดเพียงนโยบายการผลักดันที่ตรงจุดเท่านั้น.
[ สรุป ] คำว่า ‘Soft Power’ นั้นหมายถึงอำนาจอ่อน ที่มีเป้าหมายในการมอบความหลงใหลและโน้มน้าวใจให้มาชอบ โดยต้องอยู่ในกรอบของแนวคิดต้นทุนทางวัฒนธรรม ค่านิยมทางการเมือง และนโยบายต่างประเทศ สถานการณ์ในไทยตอนนี้ยังไม่มี Soft Power อย่างแท้จริง แต่มีต้นทุนที่สามารถผลักดันให้เกิด Soft Power อยู่มากมาย.
☘️โดย ธนพนธ์ หัสกรรัตน์
No comments:
Post a Comment