วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค ร่วมกับ สมาคมการค้าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STTA) และศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ องค์การมหาชน หรือ TCELS (ทีเซลส์) คณะผู้จัดงาน Thailand LAB INTERNATIONAL งานแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมเครื่องมือสำหรับห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ และงาน Bio Asia Pacific งานแสดงผลงานวิจัย นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านชีววิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีชีวภาพและการแพทย์สมัยใหม่ และงาน FutureCHEM INTERNATIONAL งานแสดงนวัตกรรมทางเคมีเพื่ออุตสาหกรรมในอนาคต โดยมีผู้ประกอบการชั้นนำในอุตสาหกรรม ทั้งในและต่างประเทศกว่า 200 ราย มากกว่า 500 แบรนด์ชั้นนำมาจัดแสดงภายในงาน คาดดึงดูดผู้ซื้อและผู้เข้าชมงานกว่า 10,000 รายจากทั่วภูมิภาคตลอด 3 วันของการจัดงาน พร้อมนำเสนอเทคโนโลยี ผลงานวิจัยใหม่ และนวัตกรรมต่างๆ เผยแพร่สู่ตลาดอย่างยิ่งใหญ่บนพื้นที่จัดงานกว่า 12,000 ตารางเมตร ตอบรับความต้องการทั้งผู้ซื้อและผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศอย่างครบครันที่สุด โดยกำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 6-8 กันยายน พ.ศ. 2566 ณ ฮอล 102-104 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพฯ ตั้งแต่เวลา 10:00-17:00 น.
เปิดตัวแบรนด์ระดับสากล สู่ตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ในปีนี้คณะผู้จัดงานยืนยันความพร้อมกลับมาจัดงานอย่างเต็มรูปแบบ พร้อมเปิดเวทีให้ผู้ประกอบการและผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมสามารถมาพบปะพูดคุยกับผู้ผลิตและผู้เชี่ยวชาญ ชมการสาธิตเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดจากผู้ประกอบการทั้งในประเทศและต่างประเทศ งานเดียวที่ครอบคลุมทุกความต้องการของทุกอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีเครื่องมือในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัยสำหรับบุคลากรและผู้ปฏิบัติงาน นวัตกรรมด้านชีววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพ การแพทย์สมัยใหม่ นวัตกรรมใหม่ๆทางเคมีเพื่ออุตสาหกรรม เทคนิคและเครื่องมือเพื่อวิคราะห์และตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ทั้งอาหาร ยา วัคซีน เครื่องสำอาง ปิโตรเคมี ซึ่งทุกภาคส่วนที่มีความจำเป็นต้องใช้เครื่องมือห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์เหล่านี้ เพื่อการพัฒนาธุรกิจอย่างครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำสู่ปลายน้ำและทั่วถึงทุกภูมิภาค
“Thailand LAB INTERNATIONAL และ Bio Asia Pacific ถือเป็นเวทีเจรจาการค้าและแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีที่สำคัญสำหรับอุตสาหกรรมห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ชีววิทยาศาสตร์และเคมีสำหรับทุกอุตสาหกรรมที่ครบวงจร ด้วยประสบการณ์การจัดงานอย่างต่อเนื่องมากกว่า 12 ปี ทำให้เราได้รับความไว้วางใจจากผู้ประกอบการ สมาคม องค์กร และหน่วยงานต่างๆ และแบรนด์ชั้นนำระดับโลกกว่า 500 แบรนด์มาจัดแสดงภายในงาน อาทิ Thermo Fisher, Danaher, Eppendorf, Agilent Technology, Mettler Toledo, DKSH, IKA, Sartorius, Zeiss, Keyence, Perkin Elmer, Daihan Scientific, Buchi, Sarstedt, Neogen และอีกมากมาย” คุณอนุชา พันธุ์พิเชฐ ผู้จัดการโครงการอาวุโส บริษัท วีเอ็นยู เอเชีย แปซิฟิค กล่าว “ในงาน Thailand LAB ปีนี้ ทางผู้จัดงาน ได้มีการประชาสัมพันธ์การจัดงานให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับภูมิภาค ผ่านอุทยานวิทยาศาสตร์ทั้ง 4 ภาค โดยผสานความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน ตลอดจนภาคการศึกษาและมหาวิทยาลัยชั้นนำ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการรับรู้ และการพัฒนางานวิจัยโดยใช้เครื่องมือที่ทันสมัย นอกจากนี้ งาน Bio Asia Pacific ยังมีการสร้างเครือข่ายเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานวิจัยทางด้านยา การแพทย์และสุขภาพ มุ่งหวังให้ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นผู้นำในระดับแนวหน้า และเป็น Medical hub ของเอเชีย มีการจัดกิจกรรมและการประชาสัมพันธ์การจัดงานไปยังต่างๆประเทศในเอเชีย โดยมีจุดมุ่งหมายในการสร้างเครือข่าย Ecosystem Partner ที่เข้มแข็ง เพื่อดึงดูดนักวิจัย และนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศในช่วงเวลาของการจัดงาน”
อัปเดททิศทางของตลาดการลงทุนและมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ผ่าน 100+ หัวข้อสัมมนาฟรี!
สัมมนาที่น่าสนใจในงาน Thailand LAB INTERNATIONAL
· การทดสอบประเมินความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ต่างๆที่สอดคล้องตามหลักการ OECD GLP โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) | 6 กันยนยน 2566
· Proactive application of WGS technology / การควบคุมคุณภาพในงาน POCT / Six sigma: an implementation in laboratory โดย สมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทย (AMTT) | 6-7 กันยายน 2566
· การจัดการความเสี่ยงของผู้จัดโปรแกรมการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ Risk management for Proficiency Testing Providers (PTPs) โดย กรมวิทยาศาสตร์บริการ | 6 กันยายน 2566
· ศักยภาพห้องปฏิบัติการกรมปศุสัตว์ในการตรวจวิเคราะห์คุณภาพสินค้าปศุสัตว์ โดย กรมปศุสัตว์ | 6 กันยายน 2566
· Science Forum ความร่วมมือระหว่างอุทยานวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย | 7 กันยายน 2566
· ความไม่แน่นอนของการวัดเบื้องต้น โดย สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ | 7 กันยายน 2566
· วิตามินและการทดสอบหาปริมาณวิตามินในอาหาร (Vitamins and Determination of Vitamin Content in Food) โดยสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ | 7 กันยายน 2566
· Virology and routine laboratory diagnosis of dengue virus infection โดย สมาคมไวรัสวิทยา | 8 กันยายน 2566
· One Health Approach for Control of Zoonotic Diseases โดยสมาคมชีวนิรภัย (ประเทศไทย) | วันที่ 8 กันยายน 2566
· Trends บรรจุภัณฑ์ในยุค BCG โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) | 8 กันยายน 2566
สัมมนาที่น่าสนใจในงาน Bio Asia Pacific
· Advances in Biotechnology for Attaining BCG Goals โดย Thai Society for Biotechnology (TSB) | 6 กันยายน 66
· The 7th Biotechnology International Congress (BIC 2023) โดยสมาคมเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย | 6-7 กันยายน 2566
· Cryogenic Storage in the era of GMP and GXP โดย IC Biomedical, USA | 6 กันยายน 2566
· Shape up your proposal for Grant! เพิ่มโอกาสการได้รับทุนจากแผนงานการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์และสุขภาพสู่การใช้ประโยชน์ (Research Utilization) โดย TCELS | 6 กันยายน 2566 ณ LAB & Bio Square
· Medical AI โดย TCELS | 7 กันยายน 2566 ณ LAB & Bio Square
· CEO Ted Talk โดย TCELS วันที่ 8 กันยายน 2566 ณ LAB & Bio Square
· Unitary Patent system & HTA Procedures Harmonization: How to Best Prepare for These Challenges? โดย German Patent Attorney และ European Patent Attorney | 8 กันยายน 2566 ณ LAB & Bio Square
สัมมนาที่น่าสนใจในงาน FutureCHEM INTERNATIONAL
· Waste Plastics & Microplastics: Challenges & Solutions โดย Frontier LAB | 7 กันยายน 2566 ณ CHEM Square
· Polyolefins from CO2 โดยสมาคมวิศวกรรมเคมีและเคมีประยุกต์แห่งประเทศไทย | 8 กันยายน 2566 ณ CHEM Square
· สัมมนาวิชาการ โดย สมาคมการค้าคลัสเตอร์เครื่องสำอางไทย | 6-7 กันยายน ณ CHEM Square
· สัมมนาวิชาการ โดย BASF (Thai) Limited. | 8 กันยายน 2566 ณ CHEM Square
· สัมมนาวิชาการ โดย สมาคมโพลิเมอร์แห่งประเทศไทย | 8 กันยายน 2566 ณ CHEM Square
ผู้ที่สนใจสามารถศึกษาตารางสัมมนาเพิ่มเติมได้ทาง https://thailandlab.com/day-1-2/
ชมการสาธิตเทคโนโลยีและนวัตกรรมรุ่นใหม่จากแบรนด์นานาชาติ
โดยงานในปีนี้ ผู้เข้าชม จะได้พบกับแบรนด์เครื่องมือและอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการระดับโลก ตลอดจนงานวิจัยต่างๆมากมาย โดยมีการจัดโซน Pavilion ต่างประเทศ ได้แก่ อินเดีย จีน และเยอรมัน โดยอัตราส่วนระหว่างผู้ประกอบการไทยและต่างชาติ ถือเป็น 70/30 นอกจากนี้ ยังมีอีกหลากหลายกิจกรรมให้ผู้ที่สนใจได้เข้าร่วม อาทิ ชมการสาธิตการใช้เครื่องมือวิจัยระดับสูงจากแบรนด์ชั้นนำ การประชุมสัมมนาและประชุมปฏิบัติการ การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ พร้อมโปรโมชันพิเศษสำหรับผู้เข้าชมงานในปีนี้ ตลอดจน กิจกรรม เกมส์ อีเว้นท์พิเศษอีกมากมายภายในงาน อาทิ
· พิธีเปิดงานอย่างเป็นทางการ จากตัวแทนภาครัฐและเอกชน ตลอดจนผู้นำองค์กรที่มีส่วนสำคัญให้เกิดการจัดงาน และมีอิทธิพลต่อการกำหนดทิศทางของอุตสาหกรรมในอนาคต นอกจากนั้นยังมีการลงนามความร่วมมือโดยตัวแทนจากภาครัฐ และเอกชน ในวันที่ 6 กันยายน 2566 (ช่วงเช้า)
· กิจกรรม Welcome Reception & Networking ถือเป็นอีกหนึ่งอีเว้นท์ไฮไลท์ที่เป็นเวทีพบปะระหว่างผู้ซื้อ ผู้ประกอบการ ผู้ให้การสนับสนุน องค์กรและหน่วยงาน สมาคม ตลอดจนผู้นำในอุตสาหกรรม ควบคู่ไปกับการให้ความบันเทิง แบบจัดเต็ม มินิคอนเสิร์ตจาก เพียว เอกพันธ์ (เพียว เดอะวอยซ์) และ โดย DJ P-U พร้อมการจับรางวัลผู้โชคดี ในวันที่6 กันยายน 2566 (ช่วงเย็น)
· การจัดทำระบบการเจรจาธุรกิจผ่านระบบ Online Business Matching จับคู่ทุกความต้องการทางธุรกิจของคุณได้อย่างตรงใจ สะดวกและรวดเร็ว พร้อมค้นหาและแนะนำคู่ค้าที่น่าสนใจเพื่อนัดเจรจา ขยายการสร้างโอกาส การลงทุนและความร่วมมือให้กับธุรกิจของคุณ
นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมพิเศษ อย่าง Happy Hours สำหรับผู้ประกอบการได้ผ่อนคลายหลังจากความเครียดมาตลอดทั้งวัน กิจกรรม Guided Tour ช่วยให้ผู้ซื้อได้พบกับผู้ประกอบการอย่างทั่วถึง กิจกรรม LAB Redemption เพื่อให้ผู้เข้าชมงานได้ร่วมสนุกภายในงานพร้อมแลกของรางวัลสุดพิเศษฟรีตลอด 3 วันของการจัดงาน และ การจับรายชื่อผู้โชคดีที่ลงทะเบียนล่วงหน้า ลุ้นรับทองคำ และของรางวัลอีกมายมาย มาเปิดประสบการณ์การเยี่ยมชมงานแสดงสินค้าให้สนุกสนานและบรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจไปพร้อมๆ กันได้ในงานปีนี้
ขอเชิญผู้ที่สนใจลงทะเบียนล่วงหน้าเข้าร่วมงาน Thailand LAB INTERNATIONAL ,Bio Asia Pacific และ FutureCHEM INTERNATIONAL ระหว่างวันที่ 6-8 กันยายน พ.ศ. 2566 ณ ฮอล 102- 104 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพฯ พร้อมร่วมฟังสัมมนาฟรี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.thailandlab.com หรือ www.bioasiapacific.com พร้อมลุ้นรับสร้อยคอทองคำ 6 เส้นได้ทุกวัน ตลอดทั้ง 3 วันของการจัดงาน สำหรับการเข้าชมงานแบบหมู่คณะ (6 คนขึ้นไป) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่องรถรับส่งได้ที่ 02-1116611 ต่อ 330/335(ฝ่ายประชาสัมพันธ์ วีเอ็นยูฯ)
No comments:
Post a Comment