ครั้งแรก! กับการจัดแสดงผลงานดิจิทัลอาร์ท โชว์เคสผลงานของเด็กพิเศษ “โลกของอเล็ก ชนกรณ์” - Siam Daily

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Thursday, January 12, 2023

ครั้งแรก! กับการจัดแสดงผลงานดิจิทัลอาร์ท โชว์เคสผลงานของเด็กพิเศษ “โลกของอเล็ก ชนกรณ์”


ครั้งแรก! กับการจัดแสดงผลงานดิจิทัลอาร์ท “โลกของอเล็ก ชนกรณ์” ภายใต้คอนเซปต์ You can do it I can do it. #อย่ายอมแพ้ #nevergiveup ของศิลปินเด็กพิเศษ (ออทิสติก) “ชนกรณ์ พุกะทรัพย์” ที่ค้นพบตัวเองจากโลกจินตนาการสู่นักเขียน บอกเล่าเรื่องราวผ่านตัวอักษรบนโลกออนไลน์ ในแอปพลิเคชันนิยายแชทรูปแบบใหม่ กับผลงานเรื่องแรก Paper Heart (หัวใจกระดาษ) ที่มีคนติดตามอ่านจำนวนไม่น้อย พร้อมต่อยอดผลงานในรูปแบบของภาพวาดดิจิทัลบนแพลตฟอร์ม JNFT โดยบริษัท เจ เวนเจอร์ส จำกัด ผู้พัฒนา JNFT Marketplace ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มซื้อ-ขาย NFT สัญชาติไทย ให้การสนับสนุน และนำผลงานเชื่อมโยงจัดทำในรูปแบบแสตมป์ดิจิทัล I-Stamp พิเศษ! มีการจำหน่าย I-Stamp ภาพผลงานของอเล็ก ชนกรณ์ โดยรายได้ทั้งหมดจากการขายแสตมป์จะมอบให้แก่ มูลนิธิออทิสติกไทย เพื่อนำรายได้ไปส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กพิเศษ เพราะเชื่อว่าเด็ก ๆ กลุ่มนี้มีศักยภาพมีความสามารถ ขอเพียงให้โอกาส และความเข้าใจ และสนับสนุน เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างอิสระในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมเช่นคนปกติทั่วไป
“เกรดไม่ใช่ทุกอย่างของชีวิต”

การเปิดโอกาสให้ลูกค้นหาสิ่งที่ชอบก็เป็นเรื่องสำคัญ โดยอเล็กได้มีโอกาสลองผิดลองถูกมาตั้งแต่ 5 ขวบ เริ่มต้นด้วยการพาไปเรียนยิมนาสติก เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ เพราะเด็กแอลดีมักมีปัญหาในการประสานการทำงานของกล้ามเนื้อมือและขา พาไปเรียนเปียโนด้วยคิดว่าดนตรีจะทำให้ลูกมีสมาธิ พาไปเรียนร้องเพลงเพื่อให้มีพัฒนาการด้านการพูดการฟังและการออกเสียงให้ชัดเจน สร้างความรู้สึกสนุก ไม่ใช่เฉพาะการฝึกพูดกับคุณหมอเพียงอย่างเดียว อีกทั้งยังเรียนคุมองคณิตคิดเร็ว เพราะเชื่อว่าการฝึกฝนทำซ้ำจะช่วยให้ลูกมีการคำนวณที่ดีขึ้น

ค้นพบความชอบ มีโอกาสลงมือทำ จุดประกายก้าวสู่โลกจินตนาการ

แม้อเล็กจะเป็นเด็กพิเศษ ออทิสติก และแอลดี แต่ก็สามารถทลายข้อจำกัดความบกพร่องที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด ด้วยความมุมานะ พยายาม ฝึกฝน ลงมือทำ ผ่านบทเรียน บทพิสูจน์ที่ล้มลุกคลุกคลาน การสนับสนุนจากครอบครัว คนใกล้ชิด จนสามารถเขียนนิยายบอกเล่าเรื่องราวผ่านตัวอักษรบนโลกออนไลน์ ผ่านแอปพลิเคชั่น Joylada “จอยลดา” แอพฯ อ่านนิยายแชทรูปแบบใหม่ กับผลงานเรื่องแรกคือ Paper Heart (หัวใจกระดาษ) ที่มีคนติดตามอ่านจำนวนไม่น้อย และหลายคนอาจยังไม่รู้ด้วยว่าเป็นผลงานจินตนาการของ “อเล็ก ชนกรณ์ เด็กพิเศษ” ซึ่งจากผลงานนี้เอง เป็นการสร้างความภูมิใจ และความมั่นใจให้กับตัวของอเล็ก ซึ่งเด็กพิเศษในกลุ่มนี้ต้องการมากๆ อเล็ก ได้มีความกล้าที่จะเดินต่อความฝันที่อยากทำ นั่นคือ การวาดภาพ
การพัฒนาความสามารถของ น้องอเล็กไม่หยุดยั้ง อเล็กได้เอาเรื่อง Paper Heart ที่แต่งไว้ มาวาดเป็นตัวละคร และฉากต่างๆในนั้น อยากเอามันออกมาให้ทุกคนได้เห็นว่า ตัวละครหน้าตาเป็นแบบไหน ตอนนี้น้องอเล็กได้เอามันออกมาให้ทุกคนได้เห็นเป็นภาพ และวันนี้ได้อเล็กได้เป็น ก็พิสูจน์ตัวเอง สามารถทำมันได้ สร้างสรรค์ภาพในหัวของตัวเอง จากตัวอักษร กลายเป็นภาพ ให้พวกเราได้เลย ซึ่งถือว่า เป็น Creator เด็กพิเศษ ถ่ายทอดเรื่องราวให้กับพวกเรา โดยภาพการแสดงผลงาน “โลกของเล็ก” You can do it I can do it. อย่ายอมแพ้


“ ผมมีความสุขกับการวาดภาพบนหน้าจอ ผมได้ลองเอาเรื่อง Paper Heart ที่แต่งไว้ มาวาดเป็นตัวละคร และฉากต่างๆในนั้น อยากเอามันออกมาให้ทุกคนได้เห็นว่า ตัวละครของผมหน้าตาเป็นแบบไหน ผมเก็บมันไว้สมอง ตอนนี้ผมเอามันออกมาให้ทุกคนได้เห็นภาพ ดีใจมากที่ค้นพบสิ่งที่เราชอบและมีโอกาสลงมือทำ ตอนนี้ชีวิตมีความสุขกับการเล่นเกม ดูการ์ตูนและวาดภาพบอกเล่าจินตนาการของผมจนตอนนี้ ผมได้เป็น Creator ที่แม้ผมจะเป็นออทิสติก แอลดี และทำมันได้ ฝากถึงเพื่อนที่เป็นเหมือนกับผมว่าการจะมีความสุขได้ต้องใช้เวลาในการค้นหาตัวเอง ค้นให้พบว่าความสุขของเราคืออะไร จริง ๆ และลงมือทำ ไม่ต้องกลัว ไม่ต้องอายเลยครับ You can do it I can do it. ครับ อย่ายอมแพ้”


เจ เวนเจอร์ส ชวนสังคมเปิดพื้นที่แห่งโอกาสในการสร้างความเท่าเทียม

นายวรพจน์ ธาราศิริสกุล Chief of Technology บริษัท เจ เวนเจอร์ส จำกัด กล่าวว่า “ความจริงแล้ว เด็กออทิสติก ที่ในสายตาคนส่วนใหญ่อาจคิดว่าผิดแปลกไป กลับมีความสามารถในหลาย ๆ ด้านทัดเทียม หรืออาจจะดีกว่าผู้ที่ไม่ได้เป็นออทิสติกด้วยซ้ำ แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่ผู้ใหญ่ใจดีสามารถช่วยกันฟื้นฟูและสนับสนุนเด็กออทิสติก

ให้มีผลงานต่าง ๆ ออกมาสู่สังคม ดังที่ในวันนี้เจเวนเจอร์สได้ให้การสนับสนุนให้พื้นที่โชว์เคสกับน้องอเล็ก นับเป็นครีเอเตอร์เด็กพิเศษคนแรกของเรา ซึ่งไม่ใช่เพราะเป็นเรื่องของความสงสาร แต่เราเล็งเห็นถึงศักยภาพการสร้างสรรค์ผลงานของอเล็กที่ไม่แพ้บุคคลปกติทั่วไป จึงอยากให้สังคมเปิดโอกาสมีพื้นที่กับกลุ่มเด็กพิเศษอย่างทัดเทียมกับคนทั่วไป”

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad